บาล คงคาธร ติลก
บาล คงคาธร ติลก

บาล คงคาธร ติลก

บาล คงคาธร ติลก (Bal Gangadhar Tilak) หรือนิยมเรียกว่า โลกมานยะ ติลก (Lokmanya Tilak;  pronunciation (วิธีใช้·ข้อมูล) ) (23 กรกฎาคม 1856 – 1 สิงหาคม 1920) ชื่อเมื่อเกิด เกศว คงคาธร ติลก (Keshav Gangadhar Tilak) เป็นนักชาตินิยมอินเดีย, ครู และนักกิจกรรมเพื่อเอกราชอินเดีย เขาเป็นหนึ่งกลุ่มคนสามคน ลาล บาล ปาล[3] ติลกเป็นผู้นำคนแรกของขบวนการเรียกร้องเอกราชอินเดีย เจ้าอาณานิคมอังกฤษเรียกเขาว่าเป็น "บิดาของความไม่สงบในอินเดีย" (father of Indian unrest) เขาได้รับตำแหน่งนำหน้าว่า "โลกมานยะ" อันแปลว่า "ผู้ที่ซึ่งผู้คนยอมรับ (ให้เป็นผู้นำ)"[4] มหาตมะ คานธี เรียกขานเขาว่าเป็น "ผู้สร้างอินเดียยุคใหม่"[5]ติลกเป็นผู้สนับสนุนคนแรก ๆ และคนสำคัญของขบวนการสวราช ("ปกครองตนเอง") และเป็นผู้มีแนวคิดสุดโต่งในแนวคิดการเกิดความรู้สึกร่วมในความเป็นอินเดีย (Indian consciousness) เขาเป็นที่รู้จักมากจากคำกล่าวในภาษามราฐีว่า "สวราชเป็นสิทธิ์ของเราที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเราต้องมีมัน!"

บาล คงคาธร ติลก

อาชีพ นักเขียน, นักการเมือง, นักต่อสู้เพื่อเอกราช
ขบวนการ ขบวนการเอกราชอินเดีข
คู่สมรส สัตยภามไบ ติลก (Satyabhamabai Tilak)
บุตร 3[2]
พรรคการเมือง พรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย
เกิด 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1856(1856-07-23)
อำเภอรัตนคีรี, รัฐบอมเบย์, บริติชอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในรัฐมหาราษฏระ, ประเทศอินเดีน)[1]
เสียชีวิต 01 สิงหาคม ค.ศ. 1920 (64 ปี)
บอมเบย์, รัฐบอมเบย์, บริติชราช (ปัจจุบันคือมุมไบ, รัฐมหาราษฏระ, ประเทศอินเดีย)
สัญชาติ อินเดีย